เกี่ยวกับเรา

Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT จำนวน 100,000 คนในประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2568 นับตั้งแต่การก่อตั้ง Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมของบุคลากรมากความสามารถของอาเซียน ผ่านแพลตฟอร์มการอบรมนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรมุ่งยกระดับทักษะและเร่งพัฒนาทักษะใหม่ให้กับแรงงานผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

บ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล, SMEs, และสตาร์ทอัพ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย บ่มเพาะความเป็นเลิศในท้องถิ่นและภูมิภาค และสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรดิจิทัลในประเทศไทย โดยตั้งเป้าบ่มเพาะบุคลากรด้าน ICT มากกว่า 100,000 คนในประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2568

โครงสร้างและขอบเขตการทำงาน

ในยุคที่เทคโนโลยีกำหนดทิศทางของโลก Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) ถือเป็นข้อพิสูจน์ความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการเสริมศักยภาพบุคคลด้วยองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเติบโตในสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม เราพร้อมขับเคลื่อนความเป็นเลิศใน 4 ทิศทางหลักดังนี้

สถาบันธุรกิจ (ระดับผู้บริหาร)

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหารภาครัฐและธุรกิจ

วัตถุประสงค์: เพื่อเตรียมรับมือความเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังได้รับความนิยม ผู้บริหารองค์กรจะรู้เท่าทันเทรนด์เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ เสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกด้านเทคนิค และสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหารธุรกิจและนโยบาย

ภาพรวมหลักสูตร: เทคโนโลยีไอซีทีที่มาแรง, แนวโน้มเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม, แนวทางการปฏิบัติชั้นนำ และแนวคิดด้านการจัดการของหัวเว่ย

สถาบันเทคนิค (ระดับนักพัฒนา)

กลุ่มเป้าหมาย: นักศึกษา, นักศึกษาสายอาชีวศึกษา, และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์

วัตถุประสงค์: มอบบริการฝึกอบรมด้านเทคนิคและใบรับรองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเสริมความเชี่ยวชาญในทักษะล่าสุดด้านไอซีทีและการพัฒนาคลาวด์ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดแรงงานและเพิ่มจำนวนบุคลากรผู้มีทักษะเชี่ยวชาญ

ภาพรวมหลักสูตร: การรับรองทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศหัวเว่ย, การแข่งขันด้านไอซีที, ใบรับรองนักพัฒนาคลาวด์, โครงการ Seeds for the Future ฯลฯ

สถาบันวิศวกรรม (ระดับผู้ประกอบวิชาชีพ)

กลุ่มเป้าหมาย: วิศวกรและผู้รับเหมาช่วง

วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการตระหนักรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดำเนินอาชีพ, การศึกษา, โอกาสในการจ้างงาน, เสริมสร้างความมั่นใจ และการตระหนักรู้ในตนเอง

ภาพรวมหลักสูตร: การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การฝึกอบรมผ่านสถานการณ์จำลอง, การฝึกอบรมการติดตั้งฮาร์ดแวร์, และใบรับรองทักษะจากหัวเว่ย

ความเท่าเทียมทางดิจิทัล (ระดับผู้ใช้งาน)

กลุ่มเป้าหมาย: ชุมชนชนบทและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

วัตถุประสงค์: ยกระดับการฝึกอบรมตามสถานการณ์และทักษะการปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มอัตราจ้างงานและประสิทธิภาพของบุคลากร, ตลอดจนการพัฒนาทักษะเดิม, การฝึกทักษะใหม่, และส่งเสริมการพัฒนาทางสังคม

ภาพรวมหลักสูตร: เทรนด์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงทักษะพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งาน

สถาบันธุรกิจ (ระดับผู้บริหาร)

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหารภาครัฐและธุรกิจ

วัตถุประสงค์: เพื่อเตรียมรับมือความเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังได้รับความนิยม ผู้บริหารองค์กรจะรู้เท่าทันเทรนด์เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ เสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกด้านเทคนิค และสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหารธุรกิจและนโยบาย

ภาพรวมหลักสูตร: เทคโนโลยีไอซีทีที่มาแรง, แนวโน้มเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม, แนวทางการปฏิบัติชั้นนำ และแนวคิดด้านการจัดการของหัวเว่ย

ความคืบหน้า

ในปีที่ผ่านมา การปฏิบัติงานต่างๆของหัวเว่ย ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากพันธมิตรที่สำคัญของเรา ทำให้เราประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เราได้เห็นคุณค่า เห็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ผู้ที่มีทักษะในหลากหลายพื้นที่ ด้วยความร่วมมือจากเหล่าพันธมิตรของเรา เราไม่เพียงมีส่วนร่วมในความสําเร็จของบุคคล แต่ยังมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า ส่งเสริมไทยสู่เวทีโลก หัวเว่ยฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะช่วยส่งเสริมและเป็นพลังในการสานต่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและก้าวนำสู่ความเป็นเลิศต่อไป

76250+

ผู้มีทักษะในพื้นที่

3500+

องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง

6000+

ประชาชนในพื้นที่และนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

30000+

ชั่วโมงอบรม

8000+

นักพัฒนาด้านคลาวด์

500+

วิศวกรรมด้านพลังงานสะอาด

Data by September 2023

  1. 2024

    หัวเว่ยจับมือกระทรวง อว. และกระทรวงแรงงานในงานมหกรรม Thailand Digital Talent Summit

    ในงานมหกรรม Thailand Digital Talent Summit ทางหัวเว่ยมีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงแรงงาน, และเครือข่ายมหาวิทยาลัยรวมถึงองค์กรชั้นนำในประเทศไทย ในแนวคิด 'สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  2. 2023

    เปิดตัวหลักสูตรรองรับนักพัฒนาคลาวด์และ AI รวม 20,000 ราย

    หัวเว่ย (ประเทศไทย) มุ่งฝึกอบรมผู้มีทักษะและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยอย่างน้อย 20,000 ราย ภายในระยะเวลา 3 ปี เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืน

  3. 2023

    หัวเว่ยคว้ารางวัล Prime Minister Award ด้าน ‘สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’ (Best of Contributor in Human Capital Development Award)

    รางวัลนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากรผู้มีทักษะเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล, 5G, คลาวด์ และอีโคซิสเต็มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยหัวเว่ยเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลนี้

  4. 2022

    การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลสำหรับนักเรียน 3,000 คนใน 10 จังหวัดที่ห่างไกล ผ่านโครงการดิจิทัลบัสเพื่อสังคม

    ในโลกดิจิทัล เราจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง รถดิจิทัลเป็นห้องเรียนพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลมีโอกาสเรียนรู้ทักษะดิจิทัลพื้นฐาน

  5. 2022

    สมุดปกขาวเพื่อการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของประเทศไทย

    ร่วมผนึกกำลังกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, และ หัวเว่ย เพื่อผลักดันแผนพัฒนาทักษะด้านไอซีทีแห่งชาติ

  6. 2021

    การแข่งขันสตาร์ทอัพ Spark Ignite ครั้งแรกในประเทศไทย

    หัวเว่ยและพันธมิตรผนึกกำลัง เร่งส่งเสริมนวัตกรรมในธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

  7. 2021

    จัดตั้ง Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) ในพื้นที่ EEC

    มุ่งผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาค โดยเร่งผลิตแรงงานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0

  8. 2020

    กระทรวงแรงงานจับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งแรงงานดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0

    กระทรวงแรงงานและหัวเว่ยร่วมผนึกกำลังเพื่อยกระดับความรู้, ความสามารถ, และทักษะของบุคลากร ให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความต้องการของตลาดแรงงาน

  9. 2020

    ทีมนักศึกษาจากประเทศไทยคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งในการแข่งขัน Huawei Tech4Good ระดับโลก

    คำอธิบาย: หลังจากร่วมฝึกอบรมในโครงการ Huawei Seeds for Future ทีมนักเรียนไทยชนะเลิศในการนำเสนอแนวทางในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยเทคโนโลยี

  10. 2019

    การจัดตั้ง Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย)

    ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยและรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐาน 5G และการมีส่วนร่วมของบุคลากรผู้มีทักษะเชี่ยวชาญในยุคดิจิทัล