สมุดปกขาวด้านการพัฒนาบุคลากรทางดิจิทัลของประเทศไทย

"พลิกโฉมประเทศไทย
สู่ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน"

ขอบเขตการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ประการ
สำหรับประเทศไทย

การกำหนดนโยบาย, สร้างมาตรฐานและการตรวจสอบ

  1. นโยบายยกระดับและเร่งกระบวนการอนุมัติโครงการหรือหลักสูตรดิจิทัล
  2. การสนับสนุนความร่วมมือของภาคเอกชนและแวดวงอุดมศึกษา
  3. หน่วยงานตรวจสอบกลางเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าและประสิทธิภาพของโครงการดิจิทัล
  4. การปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนสำหรับสายงานดิจิทัลในหน่วยงานภาครัฐ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

  1. ยกระดับการเข้าถึงและการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชน
  2. บูรณาการแพลตฟอร์มการเรียนรู้

การพัฒนาทักษะบุคลากร

  1. พัฒนาหลักสูตรดิจิทัลสำหรับชั้นประถม, มัธยม และมหาวิทยาลัย
  2. โปรแกรมฝึกอบรม Train-the-Trainer (TTT) สำหรับอาจารย์ ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยที่มีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน

การจับคู่อาชีพ/งาน

  1. กำหนดทักษะดิจิทัลที่เป็นที่ต้องการ, สร้างเส้นทางการเติบโตในอาชีพ, และโครงสร้างเงินเดือนในอุตสาหกรรม
  2. แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้คำแนะนำด้านอาชีพและการจับคู่ตำแหน่งงานแบบ 1 ต่อ 1

การระดมทุนและการสนับสนุน

  1. โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public – Private Partnership (PPP) / แพลตฟอร์มระดมทุน

สมุดปกขาวพร้อมข้อมูลเชิงลึก ด้วยบทสัมภาษณ์กว่า 40 บทความ

ภาครัฐและเอกชน
องค์กรและสมาคมในประเทศไทยและต่างประเทศ
สถาบันวิชาการด้านทักษะดิจิทัลชั้นนำ

ภาพรวมการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC)

ความต้องการเฉพาะสำหรับนักประดิษฐ์และบุคลากร
ผู้มีทักษะขั้นสูง

การพัฒนาทักษะดิจิทัลเป็นนโยบายและกลยุทธ์สำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยในเวทีโลก เราผนึกกำลังกับพันธมิตรในการริเริ่มหลากหลายโครงการเพื่อพลิกโฉมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และบ่มเพาะอีโคซิสเต็มที่เติบโตอย่างยั่งยืนด้านการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการตลาดที่สูงขึ้นสำหรับทรัพยากรมนุษย์ที่เปี่ยมคุณค่าเหล่านี้

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

จากนโยบายของรัฐบาลไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 เพื่อสร้างการเข้าถึงทรัพยากรดิจิทัล, นวัตกรรมการวิจัย, และการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างครอบคลุม ประเทศไทยก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในทุกภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ความต้องการบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น เราตระหนักถึงความท้าทายของการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้ตั้งแต่ต้น ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

"เสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ความมุ่งมั่นของหัวเว่ย ไม่จำกัดเพียงด้านเทคโนโลยี - แต่รวมถึงการสร้างแรงงานฝีมือ, ส่งเสริมนวัตกรรม, และสร้างองค์กรที่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลง
หัวเว่ยผนึกกำลังร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อปูทางการบ่มเพาะอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่เติบโต ผลักดันให้ประเทศไทยให้ก้าวสู่อนาคตความสำเร็จที่ยั่งยืน"

Huawei

พัฒนาโดย

สนับสนุนโดย